วันอาทิตย์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2555


ปัจจุบันจะพบว่าแนวทางในการดูแล รักษาสุขภาพ ไม่ได้มีเพียงการแพทย์แผนปัจจุบันที่ถือเป็นการแพทย์กระแสหลักเท่านั้น แต่การแพทย์ทางเลือกอย่าง ดนตรีบาบัด ก็ถือเป็นอีกหนึ่งแนวทางที่ได้รับการยอมรับในวงกว้าง และเริ่มมีอิทธิพลเพิ่มมากขึ้นในประเทศไทย
ดนตรีบำบัด (Music Therapy) คือศาสตร์ที่ว่าด้วยการนำ ดนตรี หรือองค์ประกอบอื่นๆ ทางดนตรี มาประยุกต์ใช้เพื่อปรับเปลี่ยน พัฒนา และคงรักษาไว้ซึ่งสุขภาวะของร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม โดยนักดนตรีบาบัดเป็นผู้ดำเนินการไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ ผ่านทางกิจกรรมทาง ดนตรี ต่างๆ อย่างมีรูปแบบโครงสร้างระเบียบและหลักเกณฑ์ที่ชัดเจน


เป้าหมายของ ดนตรี บำบัดไม่ได้เน้นที่ทักษะทางดนตรีแต่เน้นในด้านพัฒนาการ ทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม ขึ้นอยู่กับความจำเป็นของแต่ละบุคคลที่มารับการบำบัด นักดนตรีบำบัดต้องนำความรู้และประสบการณ์ประยุกต์ใช้กับผู้เข้ารับการบำบัด ที่มีอาการของโรคและพฤติกรรมที่แตกต่างกันไป เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการบำบัด

รูปแบบการทา ดนตรี บำบัดไม่ได้ขึ้นอยู่กับลักษณะอาการเพียงอย่างเดียว แต่ยังแตกต่างกันออกไปตามพื้นฐานทางวัฒนธรรม ที่เห็นได้ชัดเจนก็คือ ดนตรี บำบัดตามความเชื่อของชาวอินเดียและชาวจีน
ชาวอินเดียส่วนใหญ่นับถือศาสนาฮินดู ซึ่งเชื่อว่าทุกสิ่งในโลกนี้เป็นของพระเจ้า ดนตรีบำบัดตามความเชื่อของชาวอินเดียจึงเป็นไปในลักษณะของความสัมพันธ์ ระหว่างเสียงดนตรีกับเวลา ฤดูกาล อารมณ์ความรู้สึก และจินตนาการ ส่วนสำคัญที่ทำให้ดนตรีอินเดียมีความแตกต่างไปจากดนตรีอื่นๆ ก็คือระบบเสียงที่มีความละเอียดและซับซ้อน นักวิชาการจึงได้จัดเสียงให้อยู่เป็นกลุ่ม ซึ่งมีความหมายคล้ายกับบันไดเสียงเรียกว่า ราคะ (Ragas) ซึ่งการรับฟังดนตรีให้ถูกราคะในแต่ละเวลาจะช่วยในการบำบัดความทุกข์ทั้งปวง

ในส่วนของชาวจีน มีความเชื่อเรื่องดนตรีบำบัดโดยยึดจากตำราโบราณของหวังตี้เน่ยจิงและอี้จิง  ที่กล่าวไว้ว่าเมื่อเสียงเข้าสู่ร่างกายจะมีผลต่ออวัยวะภายในทาให้เกิดการ ขยับตัวเบา-แรง ตามเสียงดนตรี เมื่อร่างกายปรับอยู่ในสภาพที่นิ่งสงบ และผู้ฟังทำกายให้ว่างดุจดังกระบอกไม้ไผ่ที่กลวง เข้าสู่สภาวะไร้ตัวตน จะทำให้พลังอันเที่ยงแท้ที่อยู่ภายในร่างกาย เกิดการเคลื่อนไหวผ่านเส้นพลังต่างๆ ประมาณ 14 เส้นหลัก ก่อให้เกิดสภาวะสมดุลของอวัยวะภายใน และทำให้จิตใจและร่างกายประสานกัน นำมาซึ่งการมีสุข สงบและแข็งแรง

นอกจากนี้การนำดนตรีบำบัดมาประยุกต์ใช้ในประเทศไทยโดยการปรับให้เข้ากับ สภาพแวดล้อม อย่างเช่น การบรรเลงดนตรีในสวนนั้น ยังก่อให้เกิดผลชัดเจนต่อการทำงานของสมอง ช่วยกระตุ้นสมองส่วนที่เสียไป โดยหลังจากที่ให้ผู้ป่วยอัมพาตเฉียบพลันฟังเพลงที่ชอบระหว่างรักษาตัวอยู่ใน โรงพยาบาล ผลที่ได้คือผู้ป่วยมีความจำและอารมณ์ดีขึ้น ราวกับว่าดนตรีนั้นเป็นตัวประสานให้สมองส่วนที่ยังไม่ถูกทาลายสามารถสั่งการ ได้ดียิ่งขึ้น

จากตัวอย่างที่กล่าวมาข้างต้นแสดงให้เห็นว่าดนตรีไม่ได้เป็นแค่ส่วนหนึ่ง ของวัฒนธรรม แต่ยังมีสรรพคุณในการรักษาโรคทางระบบประสาท นอกจากนี้ยังช่วยกระตุ้นความจาและสร้างสมาธิ
รู้อย่างนี้แล้วอย่าลืมถามคนที่คุณรักว่า "วันนี้คุณฟังดนตรีหรือยัง"

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น