วันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2556




เนื่องจากร่างกายของมนุษย์นั้นสามารถผลิตสารอาหารที่จำเป็นต่อระบบของชีวิตไม่ได้ทุกอย่าง แต่เราสามารถทดแทนการขาดสารอาหารจำเป็นบางตัวได้ด้วยการรับประทานอาหารเข้าไป ซึ่งได้มาจากพืชและสัตว์ หากคุณสามารถรับประทานอาหารในแต่ละวันได้ครบถ้วนทั้ง 5หมู่ เรียกว่า กินดีแล้ว ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร คงไม่มีความจำเป็น แต่ถ้าคูณคิดว่าชีวิตประจำวันของคุณรับระทานอาหารได้ไม่ครบ 5 หมู่ หรือรับสารอาหารไม่พอเหมาะต่อปริมาณที่ร่างกายต้องการ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร คือ ทางเลือกในการซื้อมารับประทาน เช่น กรณีที่คุณเป็นคนไม่รับประทานผัก ผลไม้ การรับประทาน วิตามินเสริม ก็อาจมีความจำเป็น เช่นเดียวกับผู้ป่วยบางรายที่ต้องการสารอาหารบางชนิดมากเป็นพิเศษและได้รับคำแนะนำให้ใช้โดยแพทย์ผู้ดูแล
 
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (food supplement) หลายคนมักเข้าใจว่าเป็นอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายคนปกติ รับประทานแล้วจะช่วยเสริมสร้างสุขภาพให้ดีขึ้น จึงควรรับประทานเพิ่มเติมจากอาหาร 5 หมู่ ซึ่งในความหมายแท้จริงแล้ว ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่ใช้รับประทาน นอกเหนือจากการรับประทานอาหารหลักตามปกติ(อาหารหลัก 5 หมู่) ซึ่งมักอยู่ในรูปลักษณะเป็นเม็ด แคปซูล ผง เกล็ด ของเหลว หรือลักษณะอื่นๆ โดยมีจุดมุ่งหมายสำหรับคนทั่วไปที่มีสุขภาพปกติ (มิใช่สำหรับผู้ป่วย) เช่น น้ำมันรำข้าว รำข้าวสาลีชนิดเม็ด น้ำมันปลาแคปซูล แคลเซียมเม็ด โปรตีนผง เป็นต้น ปัจจุบันผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ได้รับความนิยมอย่างมาก ประกอบกับรูปแบบชีวิตสังคมสมัยใหม่ ไม่เอื้ออำนวยให้มีเวลาว่างมากพอสำหรับการสร้างสุขภาพที่ดีคือการกินอาหารที่ดี ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม แต่คนส่วนใหญ่อยากมีสุขภาพแข็งแรง กลัวการเจ็บป่วย ไม่มั่นใจในตัวเอง ดังนั้นจึงนึกถึง ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เป็นสิ่งแรก ซึ่งผู้จำหน่ายก็มักมีวิธีการทำตลาดและส่งเสริมการขายที่แยบยลเจาะเข้าถึงใจผู้บริโภค ปัจจุบันโฆษณาได้ก้าวข้ามขีดความสามารถในการดูแลโดยหน่วยงานที่รับผิดชอบไปอีกขั้นคือ สามารถกระจายข้อมูลได้อย่างรวดเร็วยากต่อการควบคุม เช่น เผยแพร่ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต ผ่านทาง Social Network เวบไซต์ต่างๆ อีเมล์ วิทยุ โทรทัศน์ แผ่นพับ ใบปลิว การแจกของชำร่วย ฯลฯ ซึ่งข้อมูลการโฆษณาเหล่านั้นมีทั้งจริงที่เชื่อถือได้และข้อมูลที่ยังไม่มีข้อยืนยันทางการแพทย์ ดังนั้นควรเลือกผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) จึงจะมั่นใจได้ว่า ผฃิตภัณฑ์เสริมตัวนั้นปลอดภัย รับประทานได้
ที่มา : ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อรการศึกษา

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น