วันจันทร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ชื้อ Clostridium difficile (C. difficile) จัดเป็นเชื้อแบคทีเรียกรัมบวกที่เจริญเติบโตได้โดยไม่ใช้ออกซิเจน สามารถสร้างสปอร์ได้ซึ่งพบทั่วไปในสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติโดยเฉพาะสิ่งแวดล้อมในโรงพยาบาล การติดเชื้อ C. difficile เกิดจากการได้รับสปอร์ของเชื้อนี้เข้าไป แล้วทำให้เกิดอาการท้องเสียซึ่งเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยที่นอนโรงพยาบาลและมีการใช้ ยาปฏิชีวนะ เป็นเวลานาน

Dr. Loke จากโรงเรียนแพทย์ Norwich และคณะได้ทำการวิเคราะห์อภิมาน (Meta-analysis) เพื่อประเมินผลของการใช้ ยาลดกรด กลุ่ม Proton-Pump Inhibitor(PPI) กับการติดเชื้อ Clostridium difficile โดยรวบรวมการศึกษาเชิงสังเกตทั้งหมด 42 ฉบับ ครอบคลุมผู้ป่วย 313,000 คน พบว่าการศึกษา 39 ฉบับสนับสนุนว่า PPI เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ Clostridium difficile อย่างมีนัยสำคัญและอีก 3 ฉบับแสดงให้เห็นว่าPPI เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ Clostridium difficile ซ้ำมากขึ้น ซึ่งมากกว่าการใช้ ยาลดกรด กลุ่ม Histamine-2-receptor antagonist และการใช้ PPI ในผู้ป่วยที่กำลังได้รับ ยาปฏิชีวนะ เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ Clostridium difficile มากขึ้นเมื่อเทียบกับการใช้ Proton-Pump Inhibitor(PPI) เพียงอย่างเดียว
ทั้งนี้อาจเนื่องจาก Proton-Pump Inhibitor(PPI) ทำให้สมดุลของจุลชีพที่มีบริเวณนั้นตามปกติเสียไป ผู้ป่วยจึงมีโอกาสติดเชื้อได้ง่ายขึ้น Dr. Loke ยังให้ข้อเสนอแนะว่าควรหยุดใช้ ยาลดกรด กลุ่ม Proton-Pump Inhibitor(PPI) ในผู้ป่วยที่กำลังใช้ ยาปฏิชีวนะ เว้นแต่ผู้ป่วยมีข้อบ่งชี้ที่จำต้องใช้ ยาลดกรด อย่างชัดเจน กรณีที่ผู้ป่วยท้องเสียจากการติดเชื้อ Clostridium difficile แล้วควรหยุดการใช้ ยา กลุ่ม Proton-Pump Inhibitor(PPI) ชั่วคราวหรือหยุดการใช้ ยา หากไม่มีข้อบ่งชี้ที่จำเป็นต้องใช้ ยาลดกรด เพื่อป้องกันการติดเชื้อซ้ำ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น