วันอังคารที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2557




เนื่องจาก อารมณ์วิตก กับ อารมณ์กังวล มีลักษณะใกล้เคียงกัน และ อารมณ์กลัว กับ อารมณ์ตกใจ ก็มีลักษณะใกล้เคียงกัน จึงจัดไว้เป็นกลุ่มเดียวกัน เหลือเป็น อารมณ์ ทั้ง ๕ ซึ่ง อารมณ์ ทั้ง ๗ นับเป็นสาเหตุก่อโรคที่เป็นเหตุปัจจัยจากภายในร่างกาย การได้รับผลกระทบจาก อารมณ์ ใดที่มากเกินไปและนานเกินไป จะทำให้เกิดโรคกับอวัยวะภายในและเส้นลมปราณได้
  • อารมณ์ดีใจ เป็นอารมณ์กระตุ้นในด้านบวก เป็นไปในทางให้ประโยชน์แก่ร่างกาย
  • อารมณ์โกรธ เศร้าโศก เสียใจ กลัว ตกใจ เป็นอารมณ์กระตุ้นในด้านลบ เป็นไปในทางให้โทษกับร่างกาย
  • อารมณ์ครุ่นคิด วิตกกังวล เป็นอารมณ์พื้นฐานของการเคลื่อนไหวของอารมณ์ การใช้ความคิดอย่างมีสติ มีปัญญา และสอดคล้องกับความเป็นจริงทางภาวะวิสัย จะมีทางออกทำให้อารมณ์ถูกเปลี่ยนแปลงรุนแรงไปด้านใดด้านหนึ่งมากเกินไป
  • อารมณ์ดีใจ : เกี่ยวข้องกับหัวใจลำไส้เล็ก โบราณกล่าวว่า “ดีใจเกินไปทำลายหัวใจทำให้เลือดไหลเวียนช้า” หัวใจมีหน้าที่ควบคุมการไหลเวียนเลือด ภาวะที่มีอารมณ์ดีใจ มีความสุข การไหลเวียนของพลังและเลือดจะไหลเวียนช้า ไม่ถูกเร่งเร้า มีการคลายตัวของกล้ามเนื้อลดความเครียด เกิดความกระชุ่มกระชวย แต่ถ้าดีใจมากเกินไปจะทำให้จิตใจไม่รวมศูนย์ขาดสมาธิ ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ ประเดี๋ยวหัวเราะประเดี๋ยวร้องไห้ ขาดความสงบ ฟุ้งซ่าน หรือมีอารมณ์คลุ้มคลั่งวิปริตไป
  • อารมณ์โกรธ : เกี่ยวข้องกับตับ – ถุงน้ำดี โบราณกล่าวว่า “โกรธมากเกินไปทำลายตับ ทำให้พลังวิ่งย้อนสู่เบื้องบน” เมื่อพลังตับย้อนสู่เบื้องบน คือ ภาวะไฟตับสูง ทำให้มีอาการหงุดหงิด ปวดศีรษะ ตามัว ปวดตา ตาบวม ความดันเลือดสูง ถ้าเป็นมากจะทำให้ปวดศีรษะรุนแรงและมีอาการวูบหมดสติ เป็นอัมพาต (ตรงกับโรคหลอดเลือดหัวใจตีบและแตก) นอกจากนี้ยังทำให้ปวดชายโครง คัดแน่นเต้านมหรือมีก้อน ประจำเดือนมาผิดปกติ รู้สึกเหมือนมีก้อนในคอ แน่นท้อง บางรายมีอาเจียนเป็นเลือด คลื่นไส้อาเจียน ตัวอย่างที่พบบ่อย คือ ผู้หญิงใกล้มีประจำเดือน ถ้ามีความผิดปกติของอารมณ์เป็นพื้นฐาน เช่น หงุดหงิดง่าย โกรธง่าย จะมีอาการมากขึ้น และกระทบกระเทือนไปยังอวัยวะภายใน คือ ตับ ถุงน้ำดี ทำให้มีอาการปวดแน่น คัดเต้านม หรือมีก้อนที่เต้านม ซึ่งทำให้อยากกินอาหารรสเปรี้ยว (วิ่งเส้นตับ)
  • อารมณ์วิตก – กังวล : เกี่ยวกับม้าม – กระเพาะอาหาร โบราณกล่าวว่า “วิตกกังวล ทำลายม้าม ทำให้พลังถูกอุดกั้น” การใช้ความคิดมากเกินไป คิดไม่ถูก คิดไม่เป็น คิดแล้วไม่มีทางออกที่ดี ทำให้เกิดอารมณ์อื่นๆ ตามมา ความวิตกกังวลเกินเหตุมีผลต่อระบบการย่อยดูดซึมอาหาร (แผนปัจจุบันเรียกว่า เครียดลงกระเพาะอาหาร) ทำให้เบื่ออาหารท้องอืดท้องเฟ้อ แน่นท้อง เป็นแผลในกระเพาะอาหาร ถ่ายเหลว ฯลฯ ถ้าเป็นเรื้อรัง จะทำให้หัวใจเต้นเร็ว ความจำเสื่อม นอนไม่หลับ ฝันบ่อย ฯลฯ อันเป็นผลจากากรอุดกั้นของพลังขัดขวางการย่อยดูดซึมอาหาร และการพร่องของเลือดและพลังที่ไปเลี้ยงสมอง
  • อารมณ์เศร้าโศก – เสียใจ : เกี่ยวกับปอด – ลำไส้ใหญ่ โบราณกล่าวว่า “เสียใจเกินไปทำลายปอด ทำให้พลังสูญหาย” การเศร้าโศกเสียใจมากและเรื้อรังจะทำให้พลังการไหลเวียนปอดอุดกั้นและถูกทำลาย ผู้ป่วยจะรู้สึกหดหู่ อ่อนเพลีย หมดเรี่ยวแรงเหนื่อยง่าย
  • อารมณ์กลัว – ตกใจ : เกี่ยวกับไต – กระเพาะปัสสาวะ โบราณกล่าวว่า “กลัว ตกใจ เกินควรทำลายไต ทำให้พลังแปรปรวน พลังย้อนลงด้านล่าง” อารมณ์กลัว ตกใจเกินควรทำให้พลังที่เกี่ยวกับการพยุง เหนี่ยวรั้งลดน้อยลงทำให้ปัสสาวะอุจจาระอั้นไม่อยู่ (ตกใจจนฉี่ราด) ขา ๒ ข้างอ่อนแรง ฝันเปียก ภาวะจิตใจสับสน แปรปรวน พูดจาเพ้อเจ้อ พฤติกรรมผิดปกติ
ที่มา : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น