วันอาทิตย์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2557



ยาลดกรด (แอนตาซิด) ซึ่งเป็นยาพื้นฐานที่ใช้รักษาอาการไม่สบายท้อง และสามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป สามารถเกิด อันตรกิริยาระหว่างยา กับยาใดได้บ้าง

ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียเตตร้าไซคลินและยากลุ่มฟลูออโรควิโนโลน

ส่วนประกอบใน ยาลดกรด จำพวกแมกนีเซียมและอะลูมิเนียม สามารถเกิดสารประกอบเชิงซ้อนที่ไม่ละลายน้ำกับตัวยาฆ่าเชื้อ ทำให้การดูดซึมยาฆ่าเชื้อลดลง ส่งผลต่อระดับยาในเลือด ถ้าระดับยาฆ่าเชื้อต่ำมาก อาจทำให้การรักษาไม่ได้ผล

ยาฆ่าเชื้อรากลุ่มเอโซลโดยเฉพาะยาคีโตโคนาโซล

การดูดซึมของยากลุ่มนี้ เกิดขึ้นได้ดีเมื่อกระเพาะอาหารอยู่ในภาวะกรด ดังนั้นการรับประทานยานี้ร่วมกับ ยาลดกรด จะทำให้กระเพาะอาหารเป็นกรดลดลง ร่างกายจึงดูดซึมยาได้ปริมาณน้อยลง

ยากันชัก

ยากลุ่มนี้เป็นยาที่มีช่วงระดับยาในการรักษาแคบ หากได้รับร่วมกับ ยาลดกรด แล้ว ส่งผลให้ยาบางตัวถูกดูดซึมเข้าสู่เลือดได้มากขึ้นจนเกิดพิษบางตัวดูดซึมลดลงจนไม่สามารถควบคุมอาการชักได้
การเกิด อันตรกิริยาระหว่างยา นั้น เป็นเรื่องใกล้ตัวและสามารถหลีกเลี่ยงได้ ดังนั้น การให้ความร่วมมือกับบุคลากรทางการแพทย์ ด้วยการแจ้งชื่อยาหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารต่างๆ ที่ใช้อยู่เป็นประจำ การปฏิบัติตามคำแนะนำเกี่ยวกับการใช้ยาอย่างเคร่งครัด ก็เป็นส่วนสำคัญในการลดความเสี่ยงในการเกิด อันตรกิริยาระหว่างยา ได้ อีกทั้งทำให้เกิดความคุ้มค่าจากการใช้ยาแก่ตัวเรามากที่สุดด้วย

อันตรกิริยาระหว่างยาหรือที่เรามักเรียกกันสั้นๆ ว่า “ยาตีกัน” เป็น ปฏิกิริยาระหว่างยาที่ใช้ร่วมกันตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปทำให้ระดับยาในเลือดเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมซึ่งส่งผลต่อการรักษาและความปลอดภัยของการใช้ยาโดยระดับยาที่เพิ่มสูงขึ้นทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์หรือเป็นพิษได้ ในทางกลับกันระดับยาที่ลดต่ำลงอาจส่งผลต่อการรักษา ทำให้การรักษาไม่ได้ผลหรือเกิดโรคแทรกซ้อนที่อันตรายภายหลัง อันตรกิริยาระหว่างยา นี้เกิดได้จาก 2 กลไกหลัก ได้แก่
1.ปฏิกิริยาระหว่างยา ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระดับยาในเลือด 
2.ปฏิกิริยาระหว่างยา ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงฤทธิ์ของยา

ปฏิกิริยาระหว่างยาที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระดับยาในเลือด

1.ยา 2 ชนิดที่ได้รับมีการออกฤทธิ์ตรงข้ามกันส่งผลให้การออกฤทธิ์ของยาแต่ละตัวลดลง ทำให้ผลการรักษาไม่เป็นไปตามที่คาดไว้
2.ยา 2 ชนิดที่ได้รับมีการออกฤทธิ์คล้ายคลึงกันส่งผลเพิ่มการออกฤทธิ์ของยามากกว่าได้รับยาเพียงตัวเดียวผลการรักษาอาจดีขึ้นแต่ผลข้างเคียงก็อาจเพิ่มมากขึ้นด้วย
ที่มา : http://bit.ly/1x7hTM6

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น