วันอังคารที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2556





ยาระบาย (Laxatives)

มีการนำ ยาระบาย มาใช้เพื่อให้เกิดการถ่ายอุจจาระ มีทั้งพวกที่ใช้ยาเป็นประจำในขนาดที่ใช้เป็น ยาระบาย ตามปกติ และพวกที่ใช้ในขนาดสูงเพื่อการขับไล่อาหารออกจากทางเดินอาหารภายหลังการรับประทานเข้าไปมาก โดยมีการใช้ในขนาด 3-10 เท่าของขนาดที่ใช้บรรเทาอาการท้องผูก ซึ่งขนาดดังกล่าวก่อให้เกิดอาการท้องเดิน ร่างกายสูญเสียสมดุลของน้ำและเกลือแร่ เกิดอันตรายได้ บางรายใช้ทันทีหลังการรับประทานอาหารและบางรายใช้ก่อนนอนเพื่อให้เกิดการขับถ่ายในตอนเช้า
จากการศึกษาในผู้ป่วย bulimia ซึ่งผู้ป่วยประเภทนี้จะมีความรู้สึกหิว รับประทานไม่รู้จักอิ่ม ในขณะเดียวกันก็กลัวว่าตนเองจะอ้วน ให้ผู้ป่วยเหล่านี้ได้รับ ยาระบาย ชนิดต่างๆ เปรียบเทียบกับการทำให้อาเจียน(self-induced -vomiting) พบว่าการใช้ ยาระบาย ให้ผลไม่ดีเท่ากับการทำให้อาเจียน กล่าวคือ การทำให้อาเจียนสามารถรับประทานอาหารได้มากกว่าผู้ที่ใช้ ยาระบาย 2-3 เท่าโดยน้ำหนักตัวไม่เพิ่มขึ้น เมื่อดูผลการใช้ ยาระบาย กับปริมาณแคลอรี่ที่ร่างกายดูดซึมเข้าไปทั้งในผู้ป่วย bulimia และคนปกติ พบว่า ยาระบาย ลดการดูดซึมสารอาหารได้เพียงประมาณ 12% จึงจัดได้ว่าไม่ให้ผลในการใช้เพื่อการลดน้ำหนัก ในรายที่รับประทานอาหารมากเกิน และยังทำให้ร่างกายเกิดการสูญเสียน้ำและอิเล็กโตรไลต์ได้มากด้วย
มีข้อมูลแสดงถึงการนำ ยาระบาย มาใช้ผิดวัตถุประสงค์ในสตรีที่อายุยังน้อย เพื่อใช้ลดน้ำหนัก ในรายงานนี้พบว่ามีผู้ใช้ยาทุกวันถึง 0.4% และใช้ทุกเดือน 4% ในจำนวนนี้ไม่รวมผู้ที่เพียงแต่เคยใช้ ซึ่งมีสูงถึง 4% เช่นกัน ส่วนการใช้ ยาระบาย แบบผิดวัตถุประสงค์เพื่อการลดน้ำหนัก ในผู้ป่วย bulimia พบว่ามีการใช้ทุกวันสูงถึง 15.8% เมื่อไม่นานมานี้มีผู้รวบรวมข้อมูลการใช้ ยาระบาย แบบผิดวัตถุประสงค์เพื่อการลดน้ำหนัก ทั้งในคนทั่วไปและในผู้ป่วย bulimia พบว่ามีผู้เคยใช้สูงถึง 4.18% ของคนทั่วไปที่ศึกษา ส่วนผู้ป่วย bulimia มีการใช้สูงถึง 14.94% การใช้ ยาระบาย แบบผิดวัตถุประสงค์เพื่อการลดน้ำหนัก และการใช้ ยาระบาย เป็นเวลานานก่อให้เกิดผลเสียต่อร่างกายได้หลายอย่าง ได้แก่

เกิดภาวะโปแตสเซียมในเลือดต่ำ(hypokalemia)

ก่อให้เกิดผลเสียต่อร่างกายหลายอย่างรวมทั้งทำให้เกิดภาวะไตวายและเกิด rhabdomyolysis ได้ ผู้ป่วยจะมีอาการปากแห้ง อ่อนเพลีย วิงเวียน เฉื่อยชา ปวดกล้ามเนื้อ เกิดตะคริว ปัสสาวะน้อย ความดันโลหิตต่ำ หัวใจเต้นเร็วและผิดจังหวะ ฯลฯ
โทษของการใช้ยาระบายผิดวัตถุประสงค์เพื่อการลดน้ำหนัก

ผลเสียต่อลำไส้และการขับถ่าย

  • กล้ามเนื้อลำไส้สูญเสียการบีบตัว ทำให้ต้องใช้ยาระบาย เป็นประจำและเกิดการติดยา
  • ลำไส้อักเสบ มีเลือดออกในลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่ ถ่ายออกมามีเลือดปน
  • ชั้นเยื่อเมือกบุลำไส้ใหญ่มีสีดำ(melanosis coli) เกิดเนื่องจากการใช้ยาระบาย กลุ่ม anthraquinone เป็นเวลานาน ดังเช่นมีรายงานที่เกิดขึ้นกับหญิงรายหนึ่งที่ใช้ยากลุ่มดังกล่าวนานถึง 20 ปี เนื่องจากท้องผูกเรื้อรังอย่างไรก็ตามการเกิด melanosis coli ดังกล่าวนี้ ปัจจุบันยังไม่พบความ จำเป็นที่จะต้องใช้ยารักษาหรือให้การผ่าตัด
  • เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งที่ลำไส้ใหญ่ เช่น ยากลุ่ม anthraquinone
  • ท้องเสียเรื้อรัง เกิดขึ้นได้ในบางรายที่ใช้ยาระบาย 2.6 เกิดท้องผูก และ reflex peripheral edema เนื่องจากการหยุดใช้ ยาระบาย ภายหลังการใช้มาเป็น เวลานาน

ไตทำงานผิดปกติ

  • พิษต่อระบบเลือด มีการศึกษาในสัตว์ทดลองโดยใช้หนูถีบจักร พบว่าการให้ phenolphthalein ในขนาดสูงเป็นเวลานาน 13 สัปดาห์ รบกวนการสร้างเม็ดเลือด
  • พิษต่อระบบสืบพันธุ์ ศึกษาในหนูถีบจักรเช่นเดียวกับที่กล่าวในข้อที่แล้ว พบว่า phenolphthalein กดการเจริญของอัณฑะและการสร้างตัวอสุจิ มีจำนวนตัวอสุจิที่ผิดปกติมากขึ้น
  • วิตกกังวล ในผู้ป่วย bulimia ซึ่งโดยปกติมีความวิตกกังวลเกิดขึ้นอยู่แล้วพบว่าเมื่อใช้ ยาระบาย ยิ่งทำให้มี อาการมากขึ้น จนอาจต้องใช้ยาระงับความวิตกกังวล
  • เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งที่ลำไส้ใหญ่ เช่น ยากลุ่ม anthraquinone
  • Rhabdomyolysis ซึ่งเกี่ยวเนื่องจากการเกิดภาวะโปแตสเซียมในเลือดต่ำด้วย ดังกล่าวแล้วข้างต้น
  • การใช้ยาระบาย อาจทำให้เกิดตับอ่อนทำงานผิดปกติ และ metabolic alkalosis ได้การที่คนติด การใช้ยาระบาย นั้น เป็นผลมาจากทั้งด้านร่างกายและจิตใจ กล่าวคือ การที่ยาระบาย ออกฤทธิ์กระตุ้นลำไส้ ทำให้ลำไส้เกิดการเคยชิน จำเป็นต้องใช้ยาจึงจะเกิดการถ่ายอุจจาระ นอกจากนั้นประกอบกับผลทางจิตใจที่เชื่อว่าเมื่อมีการขับถ่ายอุจจาระออกไปจะเป็นการสูญเสียอาหาร และน้ำ ทำให้น้ำหนักตัวลดได้ ในความเป็นจริงดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่ายาระบาย ช่วยลดปริมาณแคลอรี่ที่ร่างกายได้รับลงไม่มากนัก คือ ประมาณ 12% ด้วยเหตุนี้การรักษาผู้ที่ติดการใช้ยาระบาย จึงประกอบด้วย
    • ทำความเข้าใจว่ายาระบาย ไม่ได้ช่วยลดน้ำหนัก จามที่ต้องการและยังก่อให้เกิดผลเสียต่อร่างกายได้มาก
    • ทำความเข้าใจว่า เมื่อหยุดใช้ ยาระบาย ในระยะอรกจะเกิดท้องผูกและเกิดการคั่งของของเหลวในตัว แต่การคั่งของของเหลวนี้ไม่เหมือนกับการคั่งของไขมันในร่างกาย
    • ส่งเสริมการรับประทานอาหารที่มีเส้นใยอาหารสูง เพื่อลดอาการท้องผูก
    • เพิ่มการออกกำลังกาย เพื่อช่วยในการควบคุมน้ำหนักที่ดี ช่วยลดอาการท้องผูกและการบวมน้ำด้วย
    • หากไม่มีการถ่ายอุจจาระใน 3 วันหลังหยุดใช้ ยาระบาย อาจใช้กลีเซอรีนทางทวารหนัก หากยังมีปัญหา เรื่องการถ่ายอุจจาระอยู่เรื่อยๆ อาจใช้พวกที่ช่วยเพิ่มกากอาหารในลำไส้ (bran-fiber bulking agent)
    ที่มา :http://www.ideaforlife.net/

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น