วันพฤหัสบดีที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2556


สมุนไพรไทย นั้นมีมากมายหลายแสนชนิดเลยทีเดียว อีกทั้งยังเจริญเติบโตงอกงามได้ดี เนื่องจากสภาพภูมิอากาศในประเทศไทยเหมาะสมในการเจริญเติบโตของ สมุนไพรไทย อาจจะเกิดขึ้นเองจากธรรมชาติหรือมาจากการเพาะปลูก ปัจจุบัน สมุนไพรไทย หลายชนิดถูกนำมาพัฒนาอยู่ในรูปแบบ ยาแผนโบราณ และบางชนิดถูกนำมาเป้นวัตถุดิบในยาแผนปัจจุบัน

โดยที่รากฐานของวิชา สมุนไพร ในประเทศไทยมาจากประเทศอินเดีย สาเหตุเพราะตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ชาติไทยได้อพยพถิ่นฐานมาจากบริเวณ เทือกเขา อัลไตน์ประเทศจีน มาจนถึงประเทศไทยในปัจจุบัน จึงมีส่วนได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรม ประเพณี ศาสนา ตลอดจนการบำบัดรักษาโรคจากประเทศอินเดียเป็นจำนวนมาก หลักฐานที่ปรากฎชัดที่สุดในคัมภีร์อายุรเวทของอินเดีย ที่เกี่ยวกับการวินิจฉัยโรค ชื่อ สมุนไพร ที่ใช้รักษาโรคมีเค้าชื่อของภาษาบาลีสันสกฤตอยู่ไม่น้อย เช่นคำว่า มะลิ (ภาษาสันสกฤตว่า มัลลิ) เป็นต้น หากจะสืบสาวถึงความเป็นมาของเครื่องดื่ม สมุนไพร ก็มีมาตั้งแต่ครั้งสมัย พุทธกาล มีน้ำชนิดหนึ่งเรียกว่า "อัชบาล" หรือ น้ำปานะ ซึ่งพระสงฆ์สามารถฉันน้ำชนิดนี้ได้ตลอดทั้งวันแทนการขบเคี้ ยวอาหาร หลังมื้อเพลตามบัญญัติของพุทธศาสนา น้ำปานะนี้ใช้ สมุนไพรไทย หรือพืชผลชนิดที่มีความเผ็ดร้อน เช่น ขิง ข่า กระทือ ตะไคร้ เป็นต้น ต้มในน้ำร้อนและผสมน้ำตาลทรายแดงให้พอมีรสปะแล่มๆ ซึ่งต่อมานิยมดื่มกันแพร่หลาย
คำว่า สมุนไพร ตามพระราชบัญญัติหมายความถึง ยาที่ได้จากพืช สัตว์ และแร่ ซึ่งยังมิได้มีการผสมปรุงหรือแปรสภาพ (ยกเว้นการทำให้แห้ง) เช่น พืชก็ยังคงเป็นส่วนของราก ลำต้น ใบ ดอก ผล ฯลฯ ยังไม่ได้ผ่านขั้นตอนการแปรรูปใด ๆ เช่น การหั่น การบด การกลั่น การสกัดแยกรวมทั้งการผสมกับสารอื่น ๆ แต่ในทางการค้า สมุนไพรไทย มักจะถูกดัดแปลงในรูปแบบ ต่าง ๆ เช่น ถูกหั่นเป็นชิ้นเล็กลง บดให้เป็นผง อัดให้เป็นแท่ง หรือปอกเปลือกออก เป็นต้น เมื่อพูดถึงสมุนไพร คนทั่ว ๆ ไปมักจะนึกถึงเฉพาะพืชที่นำมาใช้ประโยชน์ในทางยา ทั้งนี้เพราะสัตว์และแร่มีการใช้น้อย จะใช้เฉพาะในโรคบางชนิดเท่านั้น่

คุณประโยชน์ของสมุนไพรไทย

  1. การนำ สมุนไพรไทย มาใช้ในการรักษาโรค
  2. ใช้เป็นอาหารเสริมบำรุงร่างกาย
  3. ใช้ สมุนไพร ในการขับสารพิษ
  4. นำสมุนไพรมาทำเป็นอาหาร
  5. ใช้เป็นเครื่องสำอาง
  6. ช่วยส่งเสริมความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจ
  7. นำสมุนไพรมาทำเป็นเครื่องดื่ม
ที่มา : ความหมายของสมุนไพรไทยและช่วยต้านมะเร็ง

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น