วันอังคารที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2556


ปัจจุบันการติดต่อสื่อสารใน Facebook Line Wechat  ฯลฯ  ผ่าน Smartphone Tablet  และ Notebook ได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเรามากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่นและคนทำงานโดยความทันสมัย ฉับไวทางด้านข้อมูลข่าวสาร และความสะดวกในการติดต่อ ทว่าการใช้งานที่มากเกินความจำเป็นก็อาจส่งผลเสียให้ผู้ใช้อย่างไม่รู้ตัว

  1. โรคเศร้าจาก Facebook ว่ากันว่า กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่มีคนเล่น Facebook มากที่สุดในโลกหรือราว 12 ล้านคน ส่วนทั้งประเทศมีผู้ใช้ Facebook ทั้งหมด 18 ล้านคน คิดเป็น 27% ของประชากรทั่วประเทศ จัดอยู่ในอันดับที่ 13 ของโลก ทั้งนี้ ผู้คนส่วนใหญ่ใช้ Facebook เป็น เครื่องระบายความรู้สึกมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อเกิดความรู้สึกว้าเหว่ สอดคล้องกับงานวิจัยจากเยอรมนี เมื่อต้นปีที่ พบว่า 1 ใน 3 ของกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ Facebook มีทัศนคติต่อตัวเองในแง่ลบ เนื่องจากเห็นการอัพเดตสถานะของเพื่อน ทั้งในด้านการงานและชีวิตส่วนตัว ที่มีแต่ความสำเร็จและความสุข ฉะนั้นใครกำลังเริ่มหดหู่ เศร้า ควรออกห่างจากเฟซบุ๊กด่วน
     
  2. ละเมอแชท (Sleep - Texting) ถือเป็นโรคใหม่ที่เกิดจากการใช้ Smartphone อีก เช่นกัน และโรคนี้ถือว่าไม่ธรรมดา เพราะสามารถตามไปหลอกหลอนหรือป่วน แม้กระทั่งตอนที่คุณเข้านอนแล้ว เราสามารถเรียกโรคนี้ให้เข้าใจง่ายๆ ว่า อาการติดแชทแม้ขณะนั้นตัวเองกำลังหลับอยู่ การศึกษาในต่างประเทศพบว่า Sleep - Texting เป็นอาการชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นจากการพิมพ์ข้อความแชทในมือถือของผู้ที่เข้า ขั้น "ติด" อาการนี้จะเกิดขึ้นในขณะหลับ และเมื่อได้ยินเสียงข้อความส่งมา ร่างกายและระบบประสาทจะตอบสนองด้วยการหยิบมือถือมาแล้วพิมพ์ข้อความตอบกลับ ไปในทันที ซึ่งผู้ใช้จะอยู่ในสภาวะกึ่งหลับกึ่งตื่น เป็นเหตุให้เมื่อตื่นขึ้นมาจะจำอะไรไม่ได้ว่าทำอะไรหรือพิมพ์อะไรไปบ้าง และข้อความนั้นก็เป็นข้อความที่ไม่สามารถจับใจความได้ ปัญหาที่ตามมาก็คือ ร่างกายที่อ่อนแอจากการพักผ่อนไม่เพียงพอ เกิดโรคอ้วน ภาวะซึมเศร้า และอาจส่งผลกระทบในการเรียนหรือการทำงานด้วย ด้วยเหตุนี้ หากจะเล่น Line Facebook หรือ Wechat ก็ควรทำแต่พอดี แต่หากคุณติดงอมแงมก็ควรตัดใจปิดมือถือ ปิดเสียง หรือปิดสัญญาณ WiFi และ 3G ไปเลยก่อนนอนเพื่อการพักผ่อนที่เต็มที่
     
  3. โรควุ้นในตาเสื่อม สำหรับบางคนอาจจะต้องอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ทุกวัน วันละหลายๆ ชั่วโมง และบางคนก็จ้องแท็บเล็ต Smartphone ไม่ วางตาจากการทำงาน ดังนั้น การเล่นอินเตอร์เน็ต แชท หรือเล่นเกมส์ อาจทำให้เกิดโรควุ้นในตาเสื่อมได้ ทั้งนี้ จากการสำรวจในประเทศไทยพบว่ามีผู้ที่เป็นโรคนี้แล้วกว่า 14 ล้านคน โดยโรคนี้เกิดขึ้นจากการใช้สายตาที่มากจนเกินไป ทั้งๆ ที่สมัยก่อนโรคนี้ส่วนมากจะพบในผู้สูงอายุ แต่ในปัจจุปัน มีผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้มากขึ้น และไม่จำกัดช่วงอายุวัย อาการสำคัญคือเวลามองจะเห็นภาพเป็นคราบดำๆ คล้ายหยากใย่ ซึ่งการตรวจสอบจะมองเห็นได้ชัดเจนในที่ๆ เป็นพื้นที่สีสว่างๆ เช่น ท้องฟ้าขาวๆ ผนังห้องขาวๆ ซึ่งหากมีอาการเหล่านี้ จะทำให้เกิดอาการปวดตา และมีปัญหาด้านสายตาในที่สุด
     
  4. โนโมโฟเบีย (Nomophobia) เป็นโรคหวาดกลัวการไม่มีมือถือใช้ติดต่อสื่อสาร รวมถึงความเครียดเมื่อมือถืออยู่ในจุดอับสัญญาณจนติดต่อใครไม่ได้ Nomophobia มาจากคำว่า "no-mobile-phone phobia" ซึ่งจัดเป็นโรคกลัวทางจิตเวช เพราะมีอาการวิตกกังวลหรือกลัวเกินกว่าปกติอาการโดยทั่วไปที่สามารถเช็กได้ ง่ายๆ ว่าคุณเข้าขั้นเป็นโรคนี้หรือเปล่าก็คือ เกิดอาการเครียด วิตกกังวล ตัวสั่น หายใจไม่สะดวก คลื่นไส้ เมื่อไม่มีโทรศัพท์ อยู่ในจุดอับสัญญาณ หรือแบตเตอรีหมด นอกจากนี้ ยังแสดงอาการด้วยการหยิบสมาร์ทโฟน หรือแทปเลต ขึ้นมาเช็กอยู่ตลอดเวลา ติดการส่งข้อความและการโพสต์ข้อความผ่านสังคมออนไลน์ในรูปแบบต่างๆ ว่างไม่ได้ สเตตัส เช็กอิน โพสต์รูป ฯลฯ ต้องมีให้เห็น ที่สำคัญไม่เคยปิดมือถือเพราะกลัวพลาดการอัพเดทเรื่องราวต่างๆ ใน ปัจจุบัน จากการสำรวจของทั่วโลกพบว่า มีคนเป็นโรคนี้กันมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะผู้หญิงจะเป็นมากกว่าผู้ชาย วัยรุ่น วัยทำงาน จะเป็นมากกว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ ในคนไทยประมาณครึ่งหนึ่งของกลุ่มเยาวชนจะติดมือถือ และชอบเล่น Line หรือ Facebook และถ้าหากเป็นมากก็คงต้องปรึกษาแพทย์เพื่อทำการรักษา ไม่เช่นนั้นโรคอื่นๆ จะตามมาอีกเพียบ

  5. Smartphone face เขากำลังก้มหน้าก้มตามอง Smartphone หรือไม่ก็ Tablet จน ตาแทบไม่กระพริบ นอกจากบรรดาสารพัดโรคที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยีเหล่านี้แล้ว เรายังมีชื่อโรคที่ไม่คุ้นหูเพิ่มมาอีกหนึ่ง นั่นคือ สมาร์ทโฟนเฟซ หรือ โรคใบหน้าสมาร์ทโฟน แต่คงไม่ใช่หน้าที่มีลักษณะยาวๆ สี่เหลี่ยมผืนผ้า แต่เป็นโรคที่เกิดจากการก้มลงมองและจ้องไปที่ Smartphone หรือ Tablet มาก จนเกินไป เหตุนี้เองจึงทำให้เกิดการยืดของเส้นใยอิลาสติกบนใบหน้าทำให้แก้มบริเวณกราม เกิดการย้อยลงมา ส่วนกล้ามเนื้อบริเวณมุมปากจะตกไปทางคาง
 ที่มา : ความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาและอาหารเสริม

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น