วันจันทร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556



น้ำยาฆ่าเชื้อ (Disinfectant)
 

น้ำยาฆ่าเชื้อ เป็นชื่อเรียกสารเคมีที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อ  ปลอดเชื้อ  หรือระงับเชื้อ ซึ่งจะระบุที่ฉลากของผลิตภัณฑ์ว่ามีฤทธิ์ระดับใด  ได้แก่ 

Antiseptics:- หมายถึง สารเคมีที่ใช้ทำลายหรือยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ ใช้กับภายนอกของร่างกายสิ่งมีชีวิตโดยไม่ทำอันตรายต่อเนื้อเยื่อเหล่านั้น

Disinfectant:- หมายถึง สารเคมีที่ใช้ทำลายจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรคและใช้กับสิ่งไม่มีชีวิต เช่น  เครื่องมือและสถานที่เป็นต้น สารเคมีเหล่านี้จะทำให้เกิดอันตรายต่อผิวหนังและเยื่อเมือกของร่างกายโดยตรง

Germicide หรือ micromicide:- ความหมายใกล้เคียงกับ disinfectant ถ้าเจาะจงเฉพาะเชื้อจุลินทรีย์ต่าง จะระบุเป็น bactericide, fungicide, virucide, sporicide เป็นต้



น้ำยาฆ่าเชื้อแบ่งเป็นประเภทต่างๆ ได้ 2 วิธี ดังนี้

1. แบ่งตามความสามารถในการทำลายเชื้อได้ 3 ระดับ ดังนี้  

1.1 น้ำยาฆ่าเชื้อที่มีประสิทธิภาพสูง (High-Level disinfectant) หมายถึง สารเคมีที่สามารถทำลายสปอร์ของแบคทีเรียและจุลินทรีย์อื่น ทุกชนิด จึงเหมาะสมที่จะใช้เป็นสารที่ทำให้ปลอดเชื้อ (sterilant) ในวัสดุหรือเครื่องมือที่ต้องการปลอดเชื้ออย่างยิ่ง (critical items) 

ตัวอย่างสารเคมีกลุ่มนี้ ได้แก่ กลูตาราลดีไฮด์ 2.0 - 3.2% ก๊าซเอทิลีนอ๊อกไซด์ เป็นต้น

1.2 น้ำยาฆ่าเชื้อที่มีประสิทธิภาพปานกลาง (intermediate-level disinfectants) คือ สารเคมีที่ไม่สามารถทำลายสปอร์ของแบคทีเรีย แต่สามารถทำลายเชื้อจุลินทรีย์ที่มีความสำคัญ เช่น เชื้อวัณโรค และไวรัสได้ โดยฤทธิ์ในการทำลายเชื้อไวรัสเปลี่ยนแปลงไปตามความเข้มข้นของน้ำยา ใช้สารเคมีเหล่านี้ในกลุ่มเครื่องมือที่ต้องการปลอดเชื้อปานกลาง (semi-critical items)  


ตัวอย่างสารเคมีกลุ่มนี้ ได้แก่ แอลกอฮอล์ ฟอร์มาลดิไฮด์ ไอโอโดฟอร์ สารประกอบคลอรีน (โซเดียมไฮโปคลอไรท์)

1.3 น้ำยาฆ่าเชื้อที่มีประสิทธิภาพต่ำ (low-level disinfectants) คือ สารเคมีที่ไม่สามารถทำลายสปอร์ของแบคทีเรียและไม่สามารถทำลายเชื้อวัณโรคและเชื้อไวรัสได้ สารเคมีเหล่านี้เมื่อความเข้มข้นสูงเพิ่มสูงขึ้นอาจเปลี่ยนจาก low-level disinfectants เป็น intermediate-level disinfectants ได้เช่น povidone-iodine จาก 75 ppm ถึง 450 ppm สารเคมีบางชนิดแม้ความเข้มข้นจะเพิ่มขึ้นเพียงใดก็เป็น low-level disinfectants เช่น benzalkonium chloride (ชื่อการค้า Zephirol, Zephiran) สารเคมีกลุ่มนี้เหมาะสำหรับวัสดุหรือเครื่องมือที่ไม่จำเป็นต้องปลอดเชื้อมากนัก(non-critical item)


2. แบ่งตามคุณสมบัติทางเคมี  โดยเฉพาะโครงสร้างทางเคมี (คัดเลือกเฉพาะน้ำยาที่ใช้อย่างแพร่หลาย)
2.1 กลุ่มแอลกอฮอล์ (Alcohols)

แอลกอฮอล์ที่ใช้แพร่หลายคือเอทธิลแอลกอฮอล์ (ethylalcohol) และไอโซโพรพิลแอลกอฮอล์ (Isopropyl alcohol) ซึ่งเป็นสารระงับเชื้อและฆ่าเชื้ออย่างแพร่หลายมานานแล้ว  
คุณสมบัติ
  •  แอลกอฮอล์ออกฤทธิ์โดยการตกตะกอนโปรตีนและละลายไขมันที่เยื่อหุ้มเซลล์
  • เอทธิลแอลกอฮอล์สามารถฆ่าเชื้อวัณโรคได้ และไวรัสพวก herpes, influenza, rabies ได้ แต่พวกไวรัสตับอักเสบและ AIDS ยังไม่มีหลักฐานแน่ชัด ขณะที่ไฮโซโพรพิลแอลกอฮอล์สามารถฆ่าได้   
  • ระยะเวลาในการฆ่าเชื้อเร็วประมาณ 1-2 นาทีฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้ทั้งกรัมบวกและกรัมลบ
  • ไอโซโพรพิลแอลกอฮอล์มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อโรคได้สูงกว่า เอทธิลแอลกอฮอล์ แต่ระเหยช้ากว่าทำให้ผิวแห้งและระคายเคืองผิวมากกว่า ความเข้มข้นที่ดีที่สุดคือ 70% เพราะมีปริมาณแอลกอฮอล์น้อยที่สุดที่จะได้ผลดีที่สุด และมีปริมาณน้ำที่พอเหมาะที่จะทำให้ผิวหนังเปียกได้ดี ช่วยให้แอลกอฮอล์แทรกซึมกระจายตัวได้ดีและระเหยช้าๆไม่เป็นอันตรายต่อผิวหนังมาก ถ้าความเข้มข้นมากกว่า 80% ขึ้นไปประสิทธิภาพจะลดลง
  • ที่ความเข้มข้น 70% แอลกอฮอล์ทั้งสองชนิดนี้ใช้ได้ทั้งเป็นสารระงับเชื้อ (Antiseptic) และสารฆ่าเชื้อ

(Disinfectant) นอกจากจะใช้เป็นสารฆ่าเชื้อโดยลำพังแล้วยังใช้ร่วมกับสารฆ่าเชื้ออื่น เช่น savlon 1:30 in alcohol 70% ใช้แช่เครื่องมือกรณีต้องการฆ่าเชื้อเร่งด่วน 2-5 นาที เป็นต้น


ข้อจำกัดของแอลกอฮอล์
  • ประสิทธิภาพจะลดลงเมื่อสัมผัสสารอินทรีย์ เนื่องจากแอลกอฮอล์ไม่ละลายโปรตีนในเลือดหรือน้ำลาย
  • กัดกร่อนทำลายเลนส์และเครื่องใช้พลาสติก

กลูตาราลดีไฮล์  (glutaraldehyde)

คุณสมบัติ
  • กลูตาราลดีไฮล์ ที่ความเข้มข้น ≥ 2% จัดเป็นน้ำยาฆ่าเชื้อที่มีประสิทธิภาพสูง
  • ไม่ใช้เป็น Antiseptic เพราะมีฤทธิ์ระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อ
  • มีฤทธิ์ฆ่าสปอร์มากกว่า formaldlehyde 2-8 เท่า
  • สามารถฆ่า vegetative cell ของแบคทีเรียใน 5 นาที 
  • ฆ่าไวรัสตับอักเสบและเอดส์ได้ภายใน 15-30 นาที 
  • ความสามารถในการฆ่าสปอร์ขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อและจำนวนเชื้อ   
  • การฆ่าเชื้อวัณโรคจะฆ่าได้ช้าและมีฤทธิ์ฆ่าวัณโรคได้น้อยกว่าฟอร์มาดิไฮด์, ไอโอไดน์และแอลกอฮอล์
  • มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อได้แม้ปนเปื้อนเลือดหรือสารคัดหลั่ง
  • ไม่ทำลายเนื้อพลาสติกและเลนส์
  • มีฤทธิ์กัดกร่อนโลหะต่ำ จึงเหมาะที่จะนำมาใช้ปลอดเชื้อวัตถุที่ไม่สามารถทนความร้อนได้

ข้อจำกัดของกลูตาราลดีไฮด์
  • ราคาแพง 
  • มีกลิ่นฉุนระคายเคืองต้องล้างออกให้หมดด้วยน้ำกลั่นหลังแช่น้ำยา ก่อนแช่น้ำยาต้องล้างสารอินทรีย์ออกให้หมด และเช็ดให้แห้งสนิทก่อน
  • ต้องระมัดระวังเรื่องวันหมดอายุ
  • ต้องสวมถุงมือ ใส่ mask ทุกครั้งที่ใช้น้ำยานี้
  • บริเวณที่ใช้ต้องมีอากาศถ่ายเทสะดวกเพราะยาระเหยได้บ้างและมีฤทธิ์ระคายเคือง
  • น้ำยาจะมีประสิทธิภาพอยู่ได้ 28 วัน แต่ถ้าแช่เครื่องมือซ้ำไปซ้ำมาน้ำยาอาจ neutralized หรือ diluted ดังนั้นจึงใช้ต่อเนื่องเพียง 2 สัปดาห์ แล้วควรเปลี่ยน

 2.3 สารประกอบคลอรีน (Chlorine containing compounds)

คลอรีนมีสถานะเป็นก๊าซจึงไม่สะดวกที่จะนำมาใช้งานทั่ว ไปและสารละลายไม่คงตัว สารเคมีที่ใช้กันแพร่หลายคือโซเดียมไฮโปคลอไรต์  ซึ่งมีคุณสมบัติต่างๆเหมือนกับคลอรีนแต่ใช้ง่ายกว่า  การออกฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อจากการละลายน้ำแล้วให้กรดไฮโปคลอรัส (Hypochlorus acid:-HOCl) เข้าทำปฏิกิริยากับโปรตีนภายในเซลล์ของเชื้อจุลินทรีย์ หรืออาจเกิดการอ๊อกซิไดซ์ (oxidize) ไวทัลเอนไซซ์ (vital enzyne)
ข้อดีของโซเดียมไฮโปคลอไรด์
  • ราคาถูก
  • สามารถฆ่าเชื้อได้ดีขึ้นกับความเข้มข้นของตัวยาจึงเป็นทั้ง Antiseptic และ Disinfectant (ความเข้มข้นจะต้องเป็นเปอร์เซ็นต์ของโซเดียมไฮโปคลอไรด์ หรือ ppm ของ available chlorine โดย 1% NaOCl = 10,000 ppm available chlorine)
  • ความเข้มข้น 0.10-0.25 ppm จะสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียส่วนใหญ่ได้ใน 15-30 วินาที  
  • สามารถฆ่าเชื้อวัณโรคได้แต่ไม่สามารถฆ่าสปอร์ได้  
  • ที่ความเข้มข้น 0.5-1% สามารถทำลายไวรัสได้ถึง 100% เช่น HBvirus และ HTLV-3 (AIDS) ความเข้มข้น 0.5% Sod hypochlorite (Dakin’s Solution) สามารถใช้เป็น Antiseptic ใช้ล้างแผลสกปรกเพื่อละลายและดับกลิ่นเนื้อเยื่อที่ตายแล้ว


การใช้ประโยชน์
  •  Dakin’S solution ใช้ล้างคลองรากฟัน ในงานทันตกรรม

ข้อเสียของโซเดียมไฮโปคลอไรต์

  • เป็นสารเคมีที่ไม่คงตัวต้องผสมน้ำยาใหม่ทุกวัน  
  • ระคายเคืองเนื้อเยื่อและผิวหนัง  
  • กลิ่นฉุน กัดกร่อนโลหะ  
  • ใช้ทำความสะอาดพื้นผิววัตถุได้ การใช้งานต้องสวมถุงมือทำความสะอาด ใส่ Mask แว่นตา และเสื้อคลุมป้องกัน
  • ประสิทธิภาพจะลดลงเมื่อสัมผัสกับอินทรีย์วัตถุจึงควรทำความสะอาดเครื่องมือก่อนฆ่าเชื้อด้วยวิธีนี้
2.4 ไอโอโดฟอร์ (Iodophors)
สารละลายไอโอดีนหรือทิงเจอร์ใช้เป็นยาระงับเชื้อ (Antiseptic) ที่ผิวหนังหรือเนื้อเยื่อมานานแล้ว  ไอโอโดฟอร์ที่นิยมใช้เป็นสารประกอบของไอโอดีนกับตัวทำละลาย (Polyvinylpyrrolidone) ซึ่งคุ้นเคยในชื่อโพวีโดนไอโอดีน  
คุณสมบัติ 
  • ออกฤทธิ์ในการทำลายจุลินทรีย์ โดย free Iodine (I2 ) ผ่านผนังเซลล์ไปทำลายโปรตีนและทำลายขบวนการสร้าง nucleic acid ของเชื้อจุลินทรีย์อย่างรวดเร็ว
  • ประสิทธิภาพของการฆ่าเชื้อขึ้นอยู่กับปริมาณ free Iodine ซึ่งเกิดจากการเจือจางน้ำยาอย่างถูกต้องตามข้อกำหนดของบริษัทผู้ผลิตอย่างเคร่งครัด
  • ใช้ทั้งเป็นยาระงับเชื้อ (Antiseptic) และยาฆ่าเชื้อ (Low-level ถึง intermediate–level disinfectant)
  • สามารถฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ได้หลายชนิดรวมทั้งเชื้อวัณโรคกรณีสัมผัสนาน 5 – 10 นาที 

ประโยชน์ที่ใช้ 
  • ใช้ฆ่าเชื้อบนพื้นผิว เช่น ยูนิคทำฟัน ด้ามปรับโคมไฟ 
  • ใช้ฆ่าเชื้อวัสดุฟันพิมพ์ปาก หรือ ฟันปลอม
  • ใช้เป็นน้ำยาแช่เครื่องมือก่อนล้าง

ข้อจำกัด 
  • น้ำยาที่ผสมแล้วต้องเปลี่ยนใหม่ทุกวันเนื่องจากประสิทธิภาพสูงสุดในการฆ่าเชื้อวัณโรคจะเปลี่ยนไปหลังจากผสมแล้ว 24 ชั่วโมง
  • ต้องใช้น้ำกลั่นในการเจือจางน้ำยาที่จะใช้งาน หากเป็นน้ำกระด้างน้ำยาจะหมดประสิทธิภาพ
  • กัดกร่อนพื้นผิวโลหะ และติดสี ตกค้างกรณีใช้ไปนาน (ต้องเช็คด้วยแอลกอฮอล์หลังจากแช่น้ำยาแล้ว)
  • เวลาที่สัมผัสน้ำยาอย่างน้อย 10 นาที จึงจะมีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อ
  • สารอินทรีย์จะทำให้ประสิทธิภาพการฆ่าเชื้อลดลง

 
2.5 กลุ่มฟีนอล (Phenols)  
สารเคมีในกลุ่มฟีนอลเป็นยาฆ่าเชื้อชนิดแรกที่ใช้อย่างแพร่หลายในโรงพยาบาล จากคุณสมบัติที่มีพิษต่อเซลล์ของสิ่งมีชีวิต มีกลิ่นฉุนระคายเคืองทางเดินหายใจ ปัจจุบันจึงเลิกใช้ 30 ปีที่ผ่านมาได้มีการพัฒนาสารฆ่าเชื้อในกลุ่มฟีนอลใหม่โดยมีเกลือฟีนอลเป็นองค์ประกอบ
คุณสมบัติ
  • สามารถฆ่าเชื้อโรคได้หลายชนิดรวมทั้งเชื้อวัณโรค แต่ไม่สามารถฆ่าสปอร์ได้
  • เป็นสารเคมีในกลุ่มลดแรงตึงผิว ช่วยให้ทำความสะอาดง่ายขึ้น
  • ไม่กัดกร่อนและไม่ให้สารตกค้าง 
 การใช้งาน
  • ใช้ทำความสะอาดพื้นผิวและอุปกรณ์
  • ใช้เป็นน้ำยาแช่ก่อนล้างทำความสะอาด

ข้อจำกัด
  • ระคายเคืองผิวหนัง ต้องระมัดระวังไม่ให้สัมผัสผิว

2.6 ควอเทอนารีแอมโมเนียมคอมเพานด์ (Quat)
 
คุณสมบัติ
  • เป็นสารช่วยลดแรงตึงผิว ช่วยในการทำความสะอาด
  • มีอันตรายต่อผู้ใช้น้อย ไม่ระคายเคืองผิวหนังและไม่กัดกร่อนพื้นผิว
  • น้ำยาเมื่อเจือจางแล้วมีความคงตัวไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนทิ้งทุกวัน 
  • สามารถฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ได้หลายชนิดรวมทั้ง Virus Aids แต่ไม่สามารถฆ่าสปอร์เชื้อวัณโรค และไวรัสตับอักเสบได้ จึงจัดเป็นน้ำยาฆ่าเชื้อที่มีประสิทธิภาพต่ำ ไม่สามารถนำมาใช้ฆ่าเชื้อเครื่องมือได้ สามารถใช้ทำความสะอาพื้นผิวภายนอกเท่านั้น
  • ใช้เวลาในการสัมผัสพื้นผิว 10 นาทีในการฆ่าเชื้อ
  • ทำให้เกิดสารตกค้างซึ่งไม่ย่อยสลายโดยธรรมชาติ
  • ประสิทธิภาพลดลงเมื่อสัมผัสสารอินทรีย์
  2.7 ควอเทอนารีแอมโมเนียมคอมเพานด์ผสมแอลกอฮอล์หรือควอทแอลกอฮอล์ (Quat-alcohol)
เป็น น้ำยาฆ่าเชื้อชนิดใหม่ซึ่งนำข้อดีของน้ำยาในกลุ่มแอลกอฮอล์มาลดข้อด้อยของ น้ำยาในกลุ่มควอทจึงเป็นการผสมผสานกันได้น้ำยาฆ่าเชื้อใหม่
คุณสมบัติ
  • เวลาในการสัมผัสพื้นผิวในการทำลายเชื้อลดลงครึ่งหนึ่ง (จากเดิม 10 นาที)
  • ไม่มีสารตกค้างที่พื้นผิว ไม่จำเป็นต้องล้างน้ำหลังจากขึ้นจากน้ำยา
  • ไม่กัดกร่อนทุกพื้นผิว เช่น โลหะ แก้ว พลาสติก
  • ไม่ระคายเคืองผิวหนังหรือเนื้อเยื่อ (เมื่อเจือจางแล้ว)
  • ประสิทธิภาพไม่ลดลงเมื่อสัมผัสกับสารอินทรีย์
  • ไม่ก่อให้เกิดสารตกค้างที่ไม่ย่อยสลายในสิ่งแวดล้อม
  • กรณีที่ผสมแอลกอฮอล์มากกว่า 40 % โดยมีปริมาณ quat มากกว่า 0.20% แต่ไม่มากกว่า 0.30 % สามารถฆ่าเชื้อวัณโรคได้ จึงจัดเป็นน้ำยาฆ่าเชื้อที่ประสิทธิภาพปานกลาง
การใช้ประโยชน์
  • ใช้แช่เครื่องมือก่อนล้างทำความสะอาด
  • ทำความสะอาดพื้นผิวในคลินิกทันตกรรม
  • ฆ่าเชื้อเครื่องมือและวัสดุทันตกรรมในกลุ่ม Semicritcal

 คุณสมบัติของน้ำยาฆ่าเชื้อที่ดี

  • สามารถทำลายเชื้อได้รวดเร็วและหลายชนิด
  • สามารถฆ่าเชื้อวัณโรค เชื้อไวรัสชนิดมีปลอก (AIDS) และชนิดไม่มีปลอก (ไวรัสตับอักเสบ)
  • มีความคงตัวแม้อยู่ในสภาวะที่เป็นกรดหรือด่าง
  • ประสิทธิภาพไม่ลดลงเมื่อสัมผัสสารอินทรีย์
  • ไม่กัดกร่อนพื้นผิว (โลหะ พลาสติก ยาง)
  • ไม่ระคายเคืองผิวหนัง เยื่อเมือก ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย
  • ไม่มีกลิ่นเหม็น ไม่มีผลกระทบต่อระบบบำบัดน้ำเสีย
  • ราคาเหมาะสม


หลักในการเลือกใช้น้ำยาฆ่าเชื้อ
หลักทั่วไปมีดังนี้

1. วัตถุประสงค์ในการใช้ พิจารณาว่าจะใช้น้ำยาฆ่าเชื้อกับสิ่งที่ต้องการทำลายเชื้อประเภทใด และสิ่งเหล่านั้นมีเชื้ออะไรที่เกี่ยวข้อง

2. คุณสมบัติทางกายภาพ ทางเคมี ทางชีววิทยาของน้ำยาฆ่าเชื้อนั้น ได้แก่ 
  • ความคงตัวของน้ำยา 
  • อายุของน้ำยาที่ใช้

3. ความปลอดภัยของผู้ใช้ คำนึงถึง

  • การดูดซึมเข้ากระแสเลือด 
  • การระคายเคืองต่อผิวหนัง
  • อาการแพ้ที่อาจเกิดขึ้น  

4. ความน่าเชื่อถือ 

  • เอกสารกำกับยาที่แนบมาจากบริษัท
  • เอกสารทางการแพทย์
  • องค์กรสากลที่เกี่ยวข้องรับรอง
  • ไม่โฆษณาเกินความเป็นจริง
  • ราคาเหมาะสม 

ข้อดีของ DIDAC ที่เป็นเหตุผลสมควรแก่การเลือกใช้

1. ไม่มีพิษต่อร่างกาย ไม่มีฤทธิ์กัดกร่อน ไม่มีฤทธิ์ระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อ

2. ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น และกำจัดกลิ่นได้

3. ทนความร้อน ทนต่อสภาวะที่มี organic matters และทนน้ำกระด้าง

4. อาศัยคุณสมบัติของความเป็นสารลดแรงตึงผิวในการทำความสะอาด

5. สามารถยับยั้งแบคทีเรียได้โดยการสร้างฟิล์มขึ้นมา

6. มีฤทธิ์ต่อเชื้อจุลชีพหลายชนิด

7. มีฤทธิ์ในช่วง pH ที่กว้าง  

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น