ไพล สรรพคุณและประโยชน์ของไพล
ไพล หรือ ว่านไพล ชื่อสามัญ Phlai, Cassumunar ginger, Bengal root ไพล ชื่อวิทยาศาสตร์ Zingiber cassumunar Roxb. (ชื่อพ้อง Zingiber montanum (Koenig) Link ex Dietr., Z. purpureum Roscoe ) จัดอยู่ในวงศ์ Zingiberaceae มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ อีกเช่น ปูขมิ้น มิ้นสะล่าง (ฉาน-แม่ฮ่องสอน), ว่านไฟ ไพลเหลือง (ภาคกลาง), ปูเลย ปูลอย (ภาคเหนือ), ว่านปอบ (ภาคอีสาน) เป็นต้น โดยสมุนไพรไพลนั่นมีถิ่นกำเนิดอยู่ในเอเชียในแถบประเทศอินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย และประเทศไทยบ้านเรา (ปลูกมากในจังหวัดกาญจนบุรี สุพรรณบุรี ปราจีนบุรี และสระแก้ว)
- ต้นไพล ลักษณะไพลเป็นไม้ล้มลุกมีความสูงประมาณ 0.7-1.5 เมตร มีเหง้าอยู่ใต้ดิน เปลือกมีสีน้ำตาลแกมเหลือง เนื้อด้านในมีสีเหลืองถึงสีเหลืองแกมเขียว แทงหน่อ หรือลำต้นเทียมขึ้นเป็นกอ โดยจะประกอบไปด้วยกาบหรือโคนใบหุ้มซ้อนกันอยู่ เหง้าไพลสดฉ่ำน้ำ รสฝาด เอียด ร้อนซ่า มีกลิ่นเฉพาะ ส่วนเหง้าไพลแก่สดและแห้งจะมีรสเผ็ดเล็กน้อย ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด แง่งหรือเหง้า แต่โดยทั่วไปแล้วจะใช้ส่วนของเหง้าเป็นท่อนพันธุ์ในการเพาะปลูก
- ใบไพล ลักษณะของใบเป็นรูปขอบขนานแกมรูปหอก ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ ใบกว้างประมาณ 3.5-5.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 18-35 เซนติเมตร
- ผลไพล ลักษณะของผลเป็นผลแห้งรูปกลม
- ดอกไพล ออกดอกเป็นช่อ แทงจากเหง้าใต้ดิน กลีบดอกมีสีนวล มีใบประดับสีม่วง
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น