วันอังคารที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2557




อย. เผยได้มีการถ่ายโอนภารกิจบางส่วนที่เป็นการส่งเสริมสนับสนุนผู้ประกอบการ ผลิตอาหาร ที่ประสงค์ขอรับการตรวจประเมินสถานที่ผลิตเพื่อออกหนังสือรับรอง GMP กฎหมาย จากหน่วยตรวจสอบที่ได้รับอนุญาตจาก อย. พร้อมกําหนดหลักฐานการขอต่ออายุ ใบอนุญาตผลิตอาหาร ที่รัฐมนตรีประกาศกําหนดวิธีการผลิต เครื่องมือ เครื่องใช้ในการผลิตและเก็บรักษาอาหาร เพื่อการต่ออายุใบอนุญาตได้อย่างสะดวกรวดเร็ว

นพ.บุญชัย สมบูรณ์สุข เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เปิดเผยว่า สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) ได้ออกประกาศ สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การขอหนังสือรับรองมาตรฐานระบบการผลิตตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายอาหาร ลงวันที่ 8 กรกฎาคม 2557 เพื่อถ่ายโอนภารกิจบางส่วนที่เป็นการส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการ ผลิตอาหาร ในกรณีผู้ ผลิตอาหารประสงค์จะขอรับการตรวจประเมิน สถานที่ผลิตอาหาร เพื่อออกหนังสือรับรอง GMP กฎหมาย ให้กับหน่วยตรวจสอบ สถานที่ผลิตอาหาร จากภาคเอกชนหรือหน่วยงานอื่น ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจาก อย. แบบครบวงจรตั้งแต่การรับคําขอ การตรวจ ถานที่ผลิตอาหาร และการออกใบรับรอง โดย กําหนดช่วงระยะเวลาเป็น 2 ระยะคือ ระยะแรกสําหรับ สถานที่ผลิตอาหาร ที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ มีผลตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2557 เป็นต้นไป และระยะที่ 2 สําหรับสถานที่ผลิตอาหารที่ตั้งอยู่ในต่างจังหวัด ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2558 หากมีข้อสงสัย สอบถามเพิ่มเติมได้ที่สํานักอาหาร สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา 02 590 7257 , 02 590 7214 และ 02 590 7206 ในเวลาราชการ หรือ e-mail : food@fda.moph.go.th หรือ Qateam.food@gmail.com 

นอกจากนี้เพื่ออํานวยความสะดวกในการปฏิบัติสําหรับเจ้าหน้าที่และผู้ประกอบการ อย.ยังได้ออกประกาศฯ เรื่อง กําหนดหลักฐานการขอต่ออายุ ใบอนุญาตผลิตอาหาร ที่รัฐมนตรีประกาศกําหนดวิธีการผลิต เครื่องมือ เครื่องใช้ในการผลิตและเก็บรักษาอาหาร ลงวันที่ 29 กรกฎาคม 2557 เพิ่มการยอมรับหนังสือรับรอง และ ผลการตรวจ สถานที่ผลิตอาหาร ตามหลักเกณฑ์ของกฎหมาย ที่ออกโดยหน่วยตรวจสอบที่ได้รับการขึ้นทะเบียนกับ สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา เพื่อใช้เป็นหลักฐานประกอบการยื่นขอต่ออายุ ใบอนุญาตผลิตอาหาร ให้สามารถดําเนินการได้รวดเร็ว 

หน่วยตรวจสอบการผลิตอาหาร

โดยหน่วยตรวจสอบที่ได้รับการขึ้นทะเบียนกับ อย. ในปีงบประมาณ พ.ศ.2557 มีจํานวน 6 ราย ได้แก่
1. บริษัท เอสจีเอส (ประเทศไทย) จํากัด
2. บริษัท บีเอสไอ กรุ๊ป (ประเทศไทย) จํากัด
3. บริษัท บูโร เวอริทัส เซอทิพิเคชั่น (ประเทศไทย) จํากัด
4. บริษัท ยูไนเต็ด รีจีส ตร้า ออฟ ซิสเท็มส์ (ประเทศไทย) จํากัด
5. บริษัท เอเจเอ รีจีสตร้าส์จํากัด
6. สํานักรับรองระบบคุณภาพ (สรร.) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)
ซึ่งผ่านการประเมินความสามารถว่าดําเนินการได้เป็นมาตรฐานเดียวกันกับ อย. และ อย. ได้วางระบบการตรวจติดตามความสามารถของหน่วยตรวจเป็นระยะๆ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือความโปร่งใส เป็นกลาง ในการตรวจตามหลักเกณฑ์ของกฎหมาย เลขาธิการฯ กล่าวในตอนท้ายว่า อย.มุ่งพัฒนาการดําเนินการให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง เพื่ออํานวยความสะดวก รวดเร็วให้แก่ผู้ประกอบการ และในขณะเดียวกันผู้บริโภคได้รับความคุ้มครองจากการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพอย่างปลอดภัย

ที่มา : http://www.jsppharma.com/FDA

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น