วันศุกร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2556

คลอโรฟิลล์  คือสารที่ทำให้พืชมีสีเขียวใช้ในการสังเคราะห์แสงของพืช มีโครงสร้างคล้ายฮีโมโกบิลในเม็ดเลือดของมนุษย์ จึงมีผู้เรียกคลอโรฟิลล์ว่าเป็น “The Blood Of Plants” จากงานวิจัยพบว่า คลอโรฟิลล์มีโครงสร้างเหมือนกับเม็ดเลือดแดงต่างกันตรงแกนกลางของคลอโรฟิลล์เป็นแมกนีเซียมส่วนเม็ดเลือดแดงเป็นเหล็ก เมื่อร่างกายได้รับคลอโรฟิลล์ ก็จะนำโครงสร้างของคลอโรฟิลล์มาเปลี่ยนเป็นโครงสร้างของเม็ดเลือดแดงโดยแลกเปลี่ยนอะตอมตรงกลางระหว่างเหล็กกับแมกนีเซียม ดังนั้นจึงทำให้ผู้ที่ได้รับคลอโรฟิลล์มีระบบการไหลเวียนผลัดเปลี่ยนเม็ดเลือดแดงเพิ่มมากขึ้น คลอโรฟิลล์  ยังอุดมไปด้วยสารต่างๆที่ทำหน้าที่บำรุงและทำความสะอาดร่างกาย รวมถึงทำให้ร่างกายมีปริมาณเลือดเพิ่มมากขึ้นด้วย คลอโรฟิลล์   จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้แก่ลำไส้ กระเพาะอาหาร ทำความสะอาดเหงือกและฟัน อาหารเสริม คลอโรฟิลล์  ทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง แกร่ง อืด ชะลอความแก่ โดยยืดอายุเซลล์ต่างๆ ในร่างกายช่วยขับพิษต่างๆ ทำให้โลหิตมีสีแดง บำบัดอาการข้ออักเสบ อาหารเสริม คลอโรฟิลล์   แก้อาการปวดหัว ท้องผูก เครียด และยังบำรุงเส้นผมอีกด้วย


คลอโรฟิลล์ คืออะไร ถ้าคุณเอาใบไม้มาตำๆแล้วคั้นน้ำออกมาไปตรวจในห้องทดลอง คุณจะพบสารมีสีที่ชื่อว่าคลอโรฟิลล์ เป็นชื่อของกลุ่มของสารที่มีสีในตัวที่พบได้ในพืชทั่วๆไป การที่มันมีสีในตัวเองจึงมีหน้าที่ดักจับพลังงานแสงที่สาดส่องมาเพื่อใช้ในขบวนการสังเคราะห์แสงซึ่งเกิดขึ้นในในชั้น Chloroplasts ของใบพืช สารนี้ไม่จำเป็นต้องมีสีเขียวแต่เพียงอย่างเดียว เนื่องจากเราจะพบมันได้ในพืชระดับชั้นต่ำเช่นในสาหร่ายแต่จะมีสีแตกต่างกันไป ที่เรียกว่าพืชชันต่ำก็เพราะว่ามันเป็นพืชที่มีองคาพยพแค่ใบ ในขณะที่พืชชั้นสูงจะมีวิวัฒนาการโดยใบจะมีการกลายไปเป็นดอกหรือ ผล เพื่อทำหน้าที่เฉพาะได้ดียิ่งขึ้น ดังนั้นเราจึงสามารถแบ่งออกเจ้าสารมีสีนี้ออกเป็น 4 กลุ่มได้แก่

  • คลอโรฟิลล์ a มีสีเขียวแกมน้ำเงิน พบในพืชชั้นสูงทุกชนิดที่สังเคราะห์แสงได้ 2.
  • คลอโรฟิลล์ b มีสีเขียวแกมเหลือง พบในพืชชั้นสูงทุกชนิดและสาหร่ายสีเขียว 3.  
  • คลอโรฟิลล์ c พบในสาหร่ายสีน้ำตาลและสาหร่ายสีทอง แต่ไม่พบในพืชชั้นสูง 4. 
  •  คลอโรฟิลล์ d พบในสาหร่ายสีแดง แต่ไม่พบในพืชชั้นสูง หน้าที่ของคลอโรฟิลล์คือต้านอนุมูลอิสระ จากการวิจัยเราพบว่าสารนี้มีฤทธิ์ต้านทานสารก่อกลายพันธุ์ที่ยังไม่ทราบกลไกอย่างแจ้งชัด อาจเป็นผลมาจากตัวมันเองทำหน้าที่เป็นตัวกำจัดอนุมูลอิสระ การทำงานของสารนี้ในชั้น Chloroplasts นั้นโมเลกุลของคลอโรฟิลล์จะทำงานได้เมื่อมันอยู่ในสภาพไม่ละลายในน้ำเท่านั้น

ทำไมจึงนำเอาคลอโรฟิลล์มาใช้ ก็มีบุคคลากรทางสาธารณสุขบางท่านก็อนุมานว่าคลอโรฟิลล์สามารถทำหน้าที่ในการต้านอนุมูลอิสระได้ดังกล่าว จึงมีแนวคิดในการนำสารนี้มาเป็นสารอาหารเพื่อวางจำหน่าย โดยในหลากหลายผลิตภัณท์เสริมอาหารที่นำมาวางขายกันอยู่ จะเป็นคลอโรฟิลล์ที่ผ่านการสังเคราะห์มาแล้ว ให้มีโครงสร้างคล้ายๆกับคลอโรฟิลล์ในธรรมชาติและละลายในน้ำได้ดี วัตถุประสงค์จริงๆของสารนี้ในตอนต้นก็เพื่อนำมาเป็นสีเขียวในสีผสมอาหารและเครื่องดื่มเท่านั้น ขอย้ำว่าคลอโรฟิลล์ที่ทำหน้าที่ต้านอนุมูลอิสระได้ในชั้นของใบพืชนั้น เมื่อมันอยู่ในสภาพไม่ละลายในน้ำเท่านั้น แหล่งของคลอโรฟิลล์ในธรรมชาติ พบมากในผลไม้ ผักที่มีสีเขียว ถ้าคุณชอบกินผัก ผลไม้สดเป็นประจำอยู่แล้วคุณก็ได้รับคลอโรฟิลล์จากธรรมชาติที่ดีที่สุดอยู่แล้ว

 แหล่งข้อมูล 

  •  Rudolph C. The therapeutic value of chlorophyll. Clin Med Surg 1930:37;119-21. 
  • Chernomorsky SA, Segelman AB. Biological activities of chlorophyll derivatives. N J Med 1988:85;669-73. · 
  • Gruskin B. Chlorophyll-its therapeutic place in acute and suppurative disease. Am J Surg 1940:49;49-56. 
  • Hayatsu H, Negishi T, Arimoto S, et al. Porphyrins as potential inhibitors against exposure to carcinogens and mutagens. Mutat Res 1993:290;79-85. 
  • Drugs.com, “Chlorophyll” http://www.drugs.com/enc/chlorophyll.html · เอกราช เกตวัลห์ สถาบันวิจัยโภชนาการ ม.มหิดล, “คลอโรฟิลล์ หลายคำถามที่คุณอยากรู้”, Herb for Health ฉบับที่ 9 มีนาคม 2552 · วรานุรินทร์ ยิสารคุณ ภาควิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์ “น้ำคลอโรฟิลล์” สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • http://www.hibalanz.com/articleshow.php?id_art=336&CID=10



0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น