การแพ้ยา มีอาการอย่างไร
การแพ้ยา คือปฏิกิริยาที่ร่างกายตอบสนองต่อยาผ่านระบบภูมคุ้มกัน เมื่อมีสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกายจะเกิดการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้สร้างสารออกมาเพื่อทำลายสิ่งแปลกปลอมนั้น กระบวนการดังกล่าวทำให้เกิดอาการแพ้ในลักษณะต่าง ได้แก่ ผื่น ริมฝีปากบวม เปลือกตาบวม หรือในบางรายอาจมีการแพ้ที่รุนแรง เช่น เป็นผื่นที่มีลักษณะผิวหนังหลุดลอก ความดันโลหิตต่ำและหยุดหายใจ
ยาในกลุ่มเดียวกันจะมีโอกาสแพ้ด้วยหรือไม่
เนื่องจากโครงสร้างของยาที่ทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้น (antigen) ทำให้เกิดการสร้างสารต่อต้านจากร่างกายอาจจะเป็นโครงสร้างส่วนใดส่วนหนึ่งของโมเลกุลยา ดังนั้น การแพ้ยา ที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันจึงเกิดขึ้นได้ โดยเรียก การแพ้ยาที่มีโครงสร้างใกล้เคียงกันในลักษณะนี้ว่า การแพ้ยา ข้ามกัน (cross reactivity)
กลุ่มยาที่พบ การแพ้ยา ข้ามกันมากที่สุดได้แก่ ยาปฏิชีวนะในกลุ่มบีต้าแลคแตม (beta-lactams) ซัลโฟนาไมด์ (sulfonamides) ยาแก้ปวดหรือยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) และกลุ่มยากันชักโดยยาที่มีโครงสร้างคล้ายกันอาจมี การแพ้ยา ข้ามกันได้ แต่อย่างไรก็ตาม การแพ้ยา ข้ามกันบางกรณีไม่ได้เกิดจากปฏิกิริยาการแพ้แต่เป็นผลจากฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของยาเอง เนื่องจากยาในกลุ่มเดียวกันมักจะมีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาใกล้เคียงกัน โดยไม่ได้สัมพันธ์กับสูตรโครงสร้าง หากอาการเหล่านั้นเกิดจากผลข้างเคียงของยา ก็ไม่จำเป็นต้องหยุดยาหรือห้ามใช้ยานั้น
ป้องกันแพ้ยาซ้ำได้อย่างไร
สำหรับแนวทางปฏิบัติของผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่า แพ้ยา ผู้ป่วยจะได้รับบัตร แพ้ยา จากโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล ผู้ป่วยควรพกบัตร แพ้ยา ติดตัวและแสดงบัตร แพ้ยา ทุกครั้งเมื่อเข้ารับการตรวจรักษาหรือรับยา รวมทั้งมีข้อควรปฏิบัติดังต่อไปนี้
- พยายามจดจำชื่อยาที่ท่านเคยแพ้
- สอบถามชื่อยา สรรพคุณ วิธีใช้อย่างละเอียดเมื่อต้องใช้ยาใดๆก็ตาม
- บอกแพทย์ผู้ทำการรักษา ผู้จ่ายยา หรือนำบัตร แพ้ยา นี้ไปแสดงทุกครั้งที่ซื้อยารับประทานเอง
- หลีกเลี่ยงยาหรือกลุ่มยาที่เคยแพ้ หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่ไม่ทราบชื่อ ยาชุด หรือยาซอง
- หากมีอาการผิดปกติหรือสงสัยว่า แพ้ยา ใด ให้หยุดยาทันที และนำตัวอย่างยาดังกล่าว มาปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร เนื่องจากอา การแพ้ยา นั้นอาจรุนแรงถึงเสียชีวิตได้
ดังนั้นการได้รับการวินิจฉัย ประเมินอาการแพ้และการรักษาอย่างเหมาะสมสามารถช่วยป้องกัน การแพ้ยาซ้ำและไม่ทำให้ผู้ป่วยเสียประโยชน์จากการพิจารณาใช้ยาในกลุ่มเดียวกัน
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น