วันอาทิตย์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2558



โรคนอนเกิน (Hypersomnia) หรือการหลับเกินพอดี เป็นโรคที่เกิดขึ้นในคนขี้เซาเป็นหลัก ยิ่งพักนอนเท่าไรก็รู้สึกไม่พอเท่านั้น ชีวิตที่เป็นโรคนี้ก็จะดูเฉื่อย ซึมเซา ไร้ชีวิตชีวา บางครั้งกินน้อยแต่อ้วนง่าย เพราะการนอนเยอะเกินไปนี้อาจมีธาตุเครียดเข้ามาผสมปนเป ทำให้กินแล้วเก็บสะสมได้มาก

ง่วงมากเกินไป หรือ ง่วงมากผิดปกติ (Excessive Sleepiness) เป็นสิ่งที่ผิดปกติ ไม่ว่าจะเป็นในเด็กหรือในผู้ใหญ่ก็ต้องรีบไปพบแพทย์ ผู้ที่มีภาวะนี้จะตื่นได้ยากมากจากการนอนหลับ เมื่อตื่นแล้วก็รู้สึกว่าต้องการ นอนต่อไปอีก ระหว่างวันก็ต้องการงีบหลับหลาย ๆ ครั้ง และการงีบก็อาจเกิดขึ้นในเวลาที่ไม่เหมาะสม

ในรายที่มีอาการมาก ขณะคุยกันก็ยังหลับได้ ระหว่างกินอาหารงีบก็แล้ว ตื่นมาก็ยังง่วงต่อไปอีก ตื่นมาก็ไม่สดชื่น สามารถหลับในเวลากลางวันได้วันละหลายครั้ง ง่วงมากเกินไปตอนกลางวัน ผู้ที่มีอาการเหล่านี้จะสามารถหลับได้ในขณะที่กำลังคุยสนทนากันอยู่ หรือแม้ขณะรับประทานอาหาร บางรายที่ง่วงมากขณะนอนหลับ ถ้าถูกปลุกขึ้นมาก็อาจมีอาการพูดจาสับสน
นอกเหนือจากอาการง่วงแล้ว ยังหงุดหงิดง่าย วิตกกังวล ความคิดความอ่านไม่แล่น ความจำไม่ดี และมีอาการซึมเศร้า หากท่านมีคนรอบข้างหรือญาติพี่น้อง ลูกหลานที่ง่วงมากเกินไป หรือง่วงมากผิดปกติ ขอให้ตระหนักว่ามีความผิดปกติแน่นอน ไม่ใช่เกิดจากพฤติกรรมหรือนิสัยเกียจคร้าน หรือบุคลิกภาพส่วนตัว แต่เกิดจากโรคทางกายหรือทางใจ ต้องรีบไปพบแพทย์

โทษพิษภัยจากการนอนเกิน ได้แก่

1. สมองเฉื่อยชา สมองล้า กลายเป็นคนไร้ชีวิตชีวา
2. เชื่องช้าไม่สบาย เพราะติดนอนไม่อยากลุกไปไหน ทำให้ความคล่องตัวเริ่มหายไป เป็นผลต่อเนื่องให้กระดูกพรุน ข้อเสื่อม
3. น้ำหนักตัวเกินมากกว่าเดิม เพราะว่านอน ไม่ได้ไปไหน
4. กลายเป็นคนซึมเศร้า การนอนมาก ๆ ทำให้ฮอร์โมนในร่างกายแปรปรวน โดยเฉพาะ "เคมีอารมณ์ สารความสุข" จำพวก "เซโรโทนิน (Serotonin)" และ "เอนดอร์ฟิน (Endorphin)" ลดต่ำลง
5. อาจก่อให้เกิดอาการหดหู่ เศร้าใจ เครียดได้ง่าย ไม่เอาการเอางาน

ที่มา : สสส.

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น